วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การประกอบคอมพิวเตอร์








1.เตรียมคู่มือให้พร้อม




ไขควงปากแบนและไขควงแฉกขนาดกลาง ใช้ขันน็อตยึดเมนบอร์ดเข้ากับตัวเคส ยึดการ์ดเพิ่มเติม ติดตั้งฟล็อบปี้ดิสก์ ซีดีรอมไดรว์ และฮาร์ดดิสก์ ตลอดจนการปิดฝาเคส
ตัวครีบสกรู ใช้คีบน็อตใส่ในช่องเกลียวสำหรับน็อตในที่คับแคบที่ไม่สามารถใช้มือจับได้
ตัวถอดชิป ในเครื่องรุ่นเก่าตัวชิปมักจะติดตั้งอยู่ในซ็อกเก็ตในลักษณะถอดเปลี่ยนได้ ซึ่งตัวถอดชิปจะช่วยได้มากแต่ในปัจจุบันชิปมักจะถูกฝังบนตัวการ์ดหรือเมนบอร์ดตั้งแต่ผลิตออกมาจากโรงงานแล้ว การถอดต้องใช้เครื่องมือพิเศษที่ผลิตมาโดยเฉพาะ
หลอดเก็บสกรูและจัมเปอร์ ใช้สำหรับเก็บสกรูและจัมเปอร์ที่เหลือจากการประกอบเครื่อง ไว้ใช้ในยามจำเป็น
ปากคีบ สำหรับคีบจับสกรูหรืออุปกรณ์ชิ้นเล็กๆ ที่ใช้มือที่หยิบไม่ได้
บล็อกหกเหลี่ยมขนาดเล็ก ใช้สำหรับขันน็อตหกเหลี่ยมตัวเมียกับแผงเหล็กของเคส เพื่อยึดเมนบอร์ดเข้ากับตัวเคส
หัวมะเฟืองสำหรับยึดน็อตพิเศษแบบหกเหลี่ยมสำหรับอุปกรณ์บางประเภทที่ทางผู้ผลิตไม่ต้องการให้ ผู้ที่ไม่ใช่ช่างอาชีพมาแกะซ่อมเอง



1.ใช้ไขควงขันคลายน๊อตด้านหลังตัวเคสเพื่อเปิดฝาด้านข้างออก

2. ภายในเคสทุกตัวจะมีน๊อตประกอบเครื่อง สายเพาเวอร์เครื่อง และให้แกะออกมาจัดเตรียมไว้ให้พร้อม

3.เปิดแผงเหล็กกั้นด้านข้างตัวเคสออก เพื่อเตรียมติดตั้งเมนบอร์ด

4. แสดงให้เห็นลักษณะการง้างแผงเหล็กด้านข้าง ก่อนถอดออกมา

5. ตัวเคสที่แกะแผงข้างออกมา พร้อมประกอบเข้ากับเมนบอร์ดแล้ว






ขั้นตอนนี้ให้แกะกล่องบรรจุเมนบอร์ดที่เพิ่งซื้อออกมาดู โดยทุกเมนบอร์ดจะมีต้วเมนบอร์ด สายฮาร์ดดิสก์/ฟล๊อบปี้ดิสก์ คู่มือเมนบอร์ด และแผ่นซีดีไดรว์เวอร์เมนบอร์ดมาด้วย ให้ตรวจดูความเรียบร้อยก่อน สิ่งที่สำคัญที่สุดในขั้นตอนนี้คือ เมื่อติดตั้งเมนบอร์ดเข้ากับแผงเคสแล้ว ให้กำหนดจัมเปอร์บนเมนบอร์ดเป็น " " "Normal" ( เมนบอร์ดที่ซื้อมาทุกอันจะถูกกำหนดจัมเปอร์เป็น "Clear CMOS" เพื่อป้องกันแบตเตอรี่หมด) เพระาหากไม่กำหนดจัมเปอร์ให้ถูกต้อง หลังประกอบเครื่องแล้วจะบู๊ตเครื่องๆไม่ได้ สำหรับการติดตั้งเมนบอร์ดมีขั้นตอนดังนี้

1. แกะกล่องเมนบอร์ดตรวจดูคู่มือ และอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อม

2. ขันแท่นรองน๊อตเข้ากับแท่นเครื่องให้ตรงกับช่องเมนบอร์ด

.วางทาบให้ช่องเมนบอร์ดตรงกับรูแท่นรองน๊อตที่ขันยึดกับแผงเคส โดยสังเกตดูให้แท่นรองน็อตตรงกับเมนบอร์ดทุกช่อง

4. ขันน๊อตลงบนแท่นรองน๊อต เพื่อยึดเมนบอร์ดเข้ากับแผงเคส

5. ให้คีมปากจิ้งจกคีบจัมเปอร์ มาใส่ไว้ตำแหน่ง "Normal"



วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

อยากเป็นวิศวกรรมโยธา




http://www.civilclub.net/wp-content/uploads/2010/03/civil.jpgวิศวกรรมโยธา (civil engineering) เป็นศาสตร์ของสาขาหนึ่งในทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ครอบคลุมการก่อสร้างตึก ตึกระฟ้า อาคาร สะพาน ถนน และระบบขนส่งอื่น ๆ รวมถึงระบบสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น เขื่อน คลอง ตลอดจนการทำรังวัดในงานสำรวจและแผนที่ รวมไปถึงการวิเคราะห์ทางธรณีและชลศาสตร์ และการบริหารจัดการการก่อสร้าง งานในทางด้านวิศวกรรมจะเน้นทางด้านการใช้วัสดุและทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งผู้ที่ประกอบวิชาชีพในสาขานี้เรียกว่า “วิศวกรโยธา” หรือเรียกกันว่า “นายช่าง”
วิศวกรโยธา คือใคร?
http://www.civilclub.net/wp-content/uploads/2010/03/engineer.gif

วิศวกรโยธา คือบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการออกแบบวางแผนการทำงานควบคุมดูแลโครงการหรืองานก่อสร้างนั้นๆออกแบบโครงสร้างของอาคารหรือสี่งปลูกสร้างต่างๆให้ถูกต้องตามหลักการของวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมด้านวิศวกรรมโยธาโดยมีลักษณะของงานที่ต้องปฏิบัติ เช่น



- วางแผนจัดระบบงาน ควบคุมงาน จัดทำตารางปฎิบัติงานและควบคุมให้การปฎิบัติงานไปตามแผนที่วางไว้



- ทำงานเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร ตลอดจนการติดตั้ง การใช้ และการบำรุงรักษาระบบไฮดรอลิก และระบบสาธารณสุขอื่นๆ



- พิจารณาโครงการ และทำงานสำรวจเพื่อหาสถานที่ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการก่อสร้าง



- สำรวจและประเมินลักษณะ และความหนาแน่นของการจราจรทางอากาศ ทางบก และทางน้ำเพื่อพิจารณาผลกระทบต่อโครงการ



การบ่มคอนกรีต (Concrete Curing)



http://www.civilclub.net/wp-content/uploads/2010/05/concrete-curing.jpgการบ่มคอนกรีตเป็นการควบคุมและป้องกันมิให้น้ำในคอนกรีตระเหยออกจากคอนกรีตที่แข็งตัวแล้วเร็วเกินไป เนื่องจากน้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดสำหรับปฏิกิริยาไฮเดรชั่น ซึ่งจะส่งผลต่อกำลังของคอนกรีตโดยตรง ดังนั้น หลังจากที่ผิวหน้าคอนกรีตแข็งตัวแล้ว จะต้องบ่มคอนกรีตให้มีความชื้นอยู่เสมอ เป็นเวลาอย่างน้อย 7 วัน กำลังของคอนกรีตจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตราบเท่าที่ยังมีความชื้นให้ปูนซีเมนต์ได้ทำปฏิกิริยากับน้ำ
วิธีการบ่มคอนกรีต
วิธีการบ่มคอนกรีตจะขึ้นอยู่กับสภาพของงานคอนกรีตนั้นๆ เป็นหลัก ลักษณะของการบ่มคอนกรีตสามารถแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือการเพิ่มความชื้นให้คอนกรีต การป้องกันการเสียน้ำของคอนกรีต และการเร่งกำลัง

นั่งร้านและอันตรายที่มักเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานในการใช้นั่งร้าน



http://www.civilclub.net/wp-content/uploads/2010/05/scaffold-frame-set.gifลักษณะของงานก่อสร้างส่วนใหญ่จะเป็นการทำงานบนที่สูง และงานใต้ดินที่มีระดับชั้นความลึกต่าง ๆ ซึ่งงานเหล่านี้จำเป็นที่จะต้องใช้นั่งร้านในการก่อสร้างงานเพื่อให้แล้วเสร็จ ผู้ใช้แรงงาน ช่าง หัวหน้างาน ตลอดจนวิศวกรที่ทำงานด้านการก่อสร้าง จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการทำงานที่สูงโดยไม่ใช้นั่งร้าน ด้วยเหตุนี้เราจึงควรมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานนั่งร้านให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัย อันตรายจากงานนั่งร้าน มักจะพบเสมอในหน่วยงานก่อสร้าง เพราะมีการใช้งานตลอดเวลา ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด กล่าวคือ เมื่อเริ่มทำชั้นที่สองขึ้นไปต้องทำนั่งร้าน และค้ำยันจนกระทั่งโครงสร้างทั้งหมดเสร็จ จึงเริ่มการตกแต่งภายในและภายนอก การตกแต่งภายนอกต้องตั้งนั่งร้านจากชั้นล่างสุดจนกระทั่งถึงชั้นบนสุด ถ้าโครงสร้างสูงมากอาจใช้นั่งร้านชนิดแขวนเข้าช่วย เพื่อให้การตั้งนั่งร้านจากข้างล่างไม่ต้องต่อชั้นไปสูงมากนัก



ปัญหาในการก่อสร้าง ที่อาจส่งผลให้โครงสร้างเกิดการวิบัติ



http://www.civilclub.net/wp-content/uploads/2010/05/construction.jpg“การวิบัติ” ในที่นี้หมายถึง การชำรุดของอาคาร หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคาร ซึ่งมากจนไม่สามารถจะใช้งานตามวัตถุประสงค์ได้อย่างปลอดภัย ในการออกแบบอาคารโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก จะต้องพิจารณาถึงปัจจัยที่สำคัญๆ หลายประการ เช่น ความแข็งแรงของโครงสร้าง ความปลอดภัยในการใช้งาน มูลค่าการก่อสร้าง และอายุการใช้งานของอาคาร เป็นเรื่องธรรมดาที่อาคารที่ก่อสร้างจะเกิดการชำรุด การเสียหายได้ตั้งแต่ก่อนเริ่มใช้งาน ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะต้องรีบดำเนินการแก้ไข การวิเคราะห์หาสาเหตุ เพื่อให้สามารถแก้ไขได้ตรงจุดหาไม่อาจ จะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ โดยที่ต้นเหตุของปัญหายังคงอยู่ ผู้ที่ควบคุมงานก่อสร้าง และผู้ตรวจงานก่อสร้างจึงควรต้องเข้าใจถึงสาเหตุ และการแก้ไขการวิบัติของอาคารโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก



การวัดพื้นที่ หน่วยการวัดพื้นที่ ระบบเมตริก ระบบอังกฤษ และมาตราของไทย



http://www.civilclub.net/wp-content/uploads/2010/05/surveying.jpgเมื่อพูดถึงการแปลงหน่วยที่ใช้ในการวัดพื้นที่ เช่น ที่ดินที่ใช้ในการก่อสร้าง ที่ดินที่ใช้ในการขุดเพื่อเป็นแหล่งวัสดุในงานก่อสร้าง ฯลฯ หน่วยการวัดพื้นที่เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการทำงาน เพราะบางคนอาจจะรู้จักหน่วยที่ใช้ในการรังวัดพื้นที่แค่หน่วยใดหน่วยหนึ่งเท่านั้น เช่น หน่วยตารางเมตร หรือตารางวา แต่ไม่รู้จัก หน่วยไร่ หรืองาน เป็นต้น ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่เราจะต้องทราบถึงความสัมพันธ์ของหน่วยที่ใช้ในการรังวัดพื้นที่ ซึ่งมีอยู่ไม่มานักที่เราควรจะทำความรู้จัก ประกอบด้วยหน่วยสำคัญๆดังต่อไปนี้



- หน่วยการวัดพื้นที่ในระบบเมตริก
- หน่วยการวัดพื้นที่ในระบบอังกฤษ
- หน่วยการวัดพื้นที่ในมาตราไทย
- หน่วยการวัดพื้นที่ในมาตราไทยเทียบกับระบบเมตริก
- หน่วยการวัดพื้นที่ในระบบอังกฤษเทียบกับระบบเมตริก (โดยประมาณ

ทำเสาเข็มเจาะระบบแห้งโดยใช้สามขา (Dry Process Bored Pile)



http://www.civilclub.net/wp-content/uploads/2010/05/bored-pile.jpgในการทำเสาเข็มเจาะชนิดนี้ ประกอบด้วยอุปกรณ์ค่อนข้างเล็กไม่ยุ่งยาก เคลื่อนย้ายสะดวก ไม่ต้องการบริเวณทำงานมากนัก อุปกรณ์หลักประกอบด้วย ขาหยั่ง 3 ขา ( TRIPOD ) ปลอกเหล็กชั่วคราว (Temporary Casing) กระเช้าตักดิน (Bucket) ลูกตุ้ม (Cylindrical Hammer) และเครื่องกว้านลม (Air Winch) ซึ่งมีขั้นตอนการทำเสาเข็มเจาะดังนี้



ขั้นตอนที่ 1. การจัดเครื่องมือเข้าศูนย์กลางเสาเข็มเจาะ ปรับตั้ง 3 ขา ให้ได้ตรงแนวศูนย์กลางของเสาเข็ม เมื่อตรวจสอบถูกต้องแล้ว จึงตอกหลักยึดปรับแท่นเครื่องมือให้แน่น แล้วใช้กระเช้าเจาะนำเป็นรูลึก (PRE – BORE) ประมาณ 1.00 – 1.50 เมตร



รวมแบบฝึกหัดวิชา การออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete Design)


วิธีหน่วยแรงใช้งาน



http://freedownloadbooks.net/ข้อสอบจรรยาบรรณสภาวิศวกร-doc.html



รูปแบบข้อสอบ วิศวกรรมโยธา(พอคร่าวๆครับ)เเบบเบสิค



http://topicstock.pantip.com/silom/topicstock/2009/04/B7724929/B7724929-6.jpg



http://topicstock.pantip.com/silom/topicstock/2009/04/B7724929/B7724929-8.jpg



http://topicstock.pantip.com/silom/topicstock/2009/04/B7724929/B7724929-5.jpg


เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
นายนิพันะื อินสุข ชื่อเล่นชื่อ เจ ครับ อายุ16 ครับ เกิดเมื่อ 24 พฤษภาคม 2538 เบอร์ติดต่ิอ 082-797-8518